โครงการสอน
รหัส 30901-2312 วิทยาการก้าวหน้าระบบสมองกลฝังตัวและไอโอที
จำนวน 3(1-4-3) หน่วยกิต จำนวนคาบรวม 72 คาบ เวลาเรียน 4 คาบ/สัปดาห์
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ชื่อผู้สอน นายธฤต ไชยมงคล
1. จุดประสงค์รายวิชา
1. เข้าใจเกี่ยวกับระบบสมองกลฝังตัวและไอโอที
2. อธิบายเกี่ยวกับวิทยาการก้าวหน้าระบบสมองกลฝังตัวและไอโอที 3. มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบและปลอดภัย ตระหนักถึงคุณภาพของงาน และมีจริยธรรมในงานอาชีพ
2. สมรรถนะของรายวิชา
1. แสดงความรู้เกี่ยวกับวิทยาการก้าวหน้าระบบสมองกลฝังตัว
2. แสดงความรู้เกี่ยวกับวิทยาการก้าวหน้าระบบไอโอที
3. เลือกใช้อุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสมกับระบบสมองกลฝังตัวและไอโอที
3. พัฒนาระบบควบคุมด้วยระบบสมองกลฝังตัวและไอโอที
4. ทดสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ระบบสมองกลฝังตัวและไอโอที
3. คำอธิบายรายวิชา : ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับวิทยาการก้าวหน้าด้านการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวและไอโอที การวิเคราะห์ออกแบบและพัฒนานวัตกรรมระบบสมองกลฝังตัวและไอโอทีด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย การค้นคว้าเพื่อประยุกต์ระบบสมองกลฝังตัวและไอโอทีในงานด้านต่าง ๆ
4. วิธีการเรียนการสอน
1. การบรรยาย 70 %
2. การฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน กิจกรรม/รายงาน 30 %
5. เกณฑ์การวัดและประเมินผล
1. คะแนนภาคปฏิบัติ (โครงงาน/กิจกรรม) 30%
– ใบปฏิบัติงานจำนวน 15 ใบ
– โครงงาน 1 โครงงาน
2. คะแนนภาคทฤษฎี 50 %
– การสอบวัดประเมินผล 5 ครั้ง
3. คะแนนจิตพิสัยและเวลาเรียน 20 %
– เวลาเรียน [ป่วย ,สาย ,ลา ,ขาด]
– จิตพิสัย [ความรับผิดชอบ ,ขยัน ,อดทน,สมุดจด]
รวมคะแนนตลอดภาค 100 %
4. เกณฑ์การประเมินผล
นักศึกษาต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด ภาคเรียนมี 18 สัปดาห์ เรียน 4 คาบ/สัปดาห์ รวม 72 คาบ ร้อยละ 80 คิดเป็น 72*80% = 58 คาบ นักศึกษาสามารถขาดเรียนได้ 72-58 = 14 คาบ คือ 3 ครั้งเท่านั้น นักศึกษาที่มีเวลาเรียนน้อยกว่าร้อยละ 80 จะได้ผลการเรียนเป็น ขร. จากนั้นจะทำการประเมินตามคะแนนที่ได้รับดังนี้
คะแนน 85 – 100 ได้เกรด 4 คะแนน 80 – 84 ได้เกรด 3.5 คะแนน 75 – 79 ได้เกรด 3 คะแนน 70 – 74 ได้เกรด 2.5 คะแนน 65 – 69 ได้เกรด 2 คะแนน 60 – 64 ได้เกรด 1.5 คะแนน 55 – 59 ได้เกรด 1 คะแนน 0 – 54 ได้เกรด 0
6. กำหนดการสอน
สัปดาห์ที่ | หน่วยที่ | ชื่อหน่วย/หัวข้อการเรียน | จำนวนคาบ | รวม (ชั่วโมง) | |
ทฤษฎี | ปฏิบัติ | ||||
1 | 1 | ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ระบบสมองกลฝังตัว และการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมองกลฝังตัวพื้นฐานการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ | 1 | 3 | 4 |
2 | 2 | สถาปัตยกรรมและเครื่องมือในการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว สถาปัตยกรรมบอร์ดสมองกลฝังตัว พอร์ตอินพุตเอาต์พุตเครื่องมือและอุปกรณ์ การติดตั้งซอฟ์แวร์สำหรับพัฒนาระบบ การทดสอบการทำงานเบื้องต้น | 1 | 3 | 4 |
3 | 3 | โครงสร้างภาษาของบอร์ดสมองกลฝังตัว โครงสร้างภาษาไวยากรณ์ตัวแปรและขอบเขตค่าคงที่การควบคุมโหมดการทำงานดิจิตอลพอร์ตการสื่อสารแบบอนุกรม | 1 | 3 | 4 |
4 | 4 | ตัวกระทำแบบต่าง ๆ ของบอร์ดสมองกลฝังตัว ตัวกระทำทางคณิตศาสตร์ตัวกระทำเปรียบเทียบตัวกระทำทางตรรกะตัวกระทำทางระดับบิต | 1 | 3 | 4 |
5 | 5 | คำสั่งควบคุมการทำงานของบอร์ดสมองกลฝังตัว คำสั่งควบคุมแบบวนลูปคำสั่งควบคุมแบบมีเงื่อนไข | 1 | 3 | 4 |
6 | 6 | ฟังก์ชั่นดิจิตอลเอาต์พุตบอร์ดระบบสมองกลฝังตัว ตัวต้านทานและไดโอดเปล่งแสงวงจรขับไดโอดเปล่งแสงการเขียนโปรแกรมกับดิจิตอลเอาต์พุต | 1 | 3 | 4 |
7 | 6 | ฟังก์ชั่นดิจิตอลอินพุตบอร์ดระบบสมองกลฝังตัว ตัวตรวจรู้แบบกลไกวงจรอ่านสัญญาณจากตัวตรวจรู้แบบกลไกการเขียนโปรแกรมกับดิจิตอลอินพุต | 1 | 3 | 4 |
8 | 7 | ฟังก์ชั่นอนาล็อกเอาต์พุตบอร์ดระบบสมองกลฝังตัว RGB Led / 7-Segmentการเขียนโปรแกรมกับอนาล็อกเอาต์พุต | 1 | 3 | 4 |
9 | 7 | ฟังก์ชั่นอนาล็อกอินพุตบอร์ดระบบสมองกลฝังตัว Potentiometers / LDR / temperature การเขียนโปรแกรมกับอนาล็อกเอาต์พุต | 1 | 3 | 4 |
10 | 8 | การเขียนโปรแกรมแสดงผลกับจอแสดงผล LCD LCD แบบ parallel LCD แบบ Serial | 1 | 3 | 4 |
11 | 9 | การเขียนโปรแกรมควบคุมมอเตอร์กระแสตรง DC MotorServo MotorStepping Motor | 1 | 3 | 4 |
12 | 10 | อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things : IoT) แนวคิด Internet of Thingswireless sensor networkAccess TechnologyGateway Sensor Nodes | 1 | 3 | 4 |
13 | 11 | การควบคุมอุปกรณ์ด้วยคลื่นวิทยุ | 1 | 3 | 4 |
14 | 12 | การควบคุมอุปกรณ์ด้วยเว็บบราวเซอร์ | 1 | 3 | 4 |
15 | 13 | ควบคุมอุปกรณ์ผ่านแอพพลิเคชั่น Blynk | 1 | 3 | 4 |
16 | – | ปฏิบัติการโครงการ | 1 | 3 | 4 |
17 | นำเสนอโครงการ | 1 | 3 | 4 | |
18 | สอบปลายภาค | 1 | 3 | 4 | |
รวมทั้งสิ้น | 18 | 54 | 72 |